อุปกรณ์การทำงาน 1

' Thinkpad T61 ' สุดยอดคอมพันธุ์อึด เเห่งวงการ 3D

วันนี้เกิดอยากลงรูปอุปกรณ์หาเลี้ยงชีพครับไม่มีอะไร 55 อันนี้เป็นโนตบุคสุดอึด
เห็นสภาพโทรมๆ งี้คุณภาพคับเเก้วนะครับ เป็นรุ่นพิเศษ ที่ใช้การ์ดจอ Quadro 140M
ก็ไม่ได้สูงมากมายหรอกครับ เเต่รองรับงาน 3D ได้ลื่นปรืดๆ เป็นคุณสมบัติพิเศษของ
ตระกูล Quadro อยู่เเล้วนะครับ เพราะปกติ เพื่อนคู่ชีวิตคือ โปรแกรม ไรโน กับ โซลิดเวิร์ค

เจอกันมาเเล้วทุกสภาพ กลางฝุ่นไซค์ก่อสร้าง ,ฝนตกพร่ำ ๆ , กะเตงหลังมอไซต์ หรือ
จะตกออกจากกระเป๋า เพราะลืมรูดซิปตอนรีบวิ่งลงจากรถเมล์

"Audi SRQ I.ROBOT " Rhinocerose 5.0 WIP : tuterial by ' 37ess '



ได้ดูหนังเรื่อง ไอโรบอทมาอีกรอบครับ เลยอยากขึ้น 3D รถที่พระเอกขับในเรื่อง
รอดูขั้นตอนการขึ้นรูป ด้วยโปรแกรม Rhinocerose 5.0 WIP นะครับ

Paramatric madel by Grasshopper





ที่เห็นเชื่อมโยงกันเป็นเถาวัลย์ นั่นคือ การลำดับค่าคำสั่ง เเละลำดับการทำงาน

ที่เราต้องทำเองทุกอย่างนั่นเองครับ เเละผลของ มันก็คือโมเดล ด้าน ซ้าย มือนั่นเอง

อยากรู้ว่าคืออะไร ทำไม ยังไง ? อ่านต่อข้างล่างเลยครับ .....




Paramatric Model ต่างกับ Representation model อย่างไร ?


ข้อความทุกคำพูดที่จะเขียนต่อไปนี้ เป็นคำพูดจากพี่ Pattosan แห่งเว็บ http://www.thai3dviz.com/ ครับ


การทำงานด้วยโปรแกรมในลักษณะนี้มีความแตกต่างกันกับ การทำงานใน Platform ที่เราคุ้นเคยกันอย่าง 3Dmax, MAYA, Sketch Up หรือ ตัวของ Rhinoceros เองอย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก โปรแกรมที่เราคุ้นเคยกันดีนั้น อาจจะเรียกได้ว่าเป็นโปรแกรมที่เอื้อต่อการทำงานในระ บบที่เรียกว่า Representation Modeling อย่างเดียว (Representation Modeling คือการทำงานเพื่อเขียนออกมาเป็นงาน Present นะละครับ เช่นภาพเรนเดอร์ที่สวยงาม หรือตัวอาคารที่แสดงภาพนิ่งในมุมต่างๆทางสถาปัตยกรรม )

(หมายเหตุ - ผมไม่ได้ไม่ชอบการทำงานแบบ Representation Modeling นะครับ ผมอ้าปากร้องทุกครั้งที่เห็นภาพเรนเดอร์สวยๆจาก V-ray และโปรแกรมอื่น แต่หัวข้อนี้มันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ การทำงานในอีกมิตินึง ผมไม่ได้จงใจสร้างประเด็นทางการเมืองใดๆทั้งสิ้น โปรดเข้าใจ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ)


ทีนี้ Parametric Modeling แตกต่างกับการทำงานแบบ Representation ยังไงกันแน่? ยกตัวอย่างง่ายๆนะครับ สมมตินะครับสมมติ สมมติว่าคุณต้องการที่จะสร้างกล่องสี่เหลี่ยมขึ้นมา 1 กล่อง โดยในทางเทคนิคแล้วนั้นถ้าคุณสร้างโดยใช้โปรแกรมสำเร ็จรูปอย่าง 3Ds Max หรือ MAYA นั้นง่ายแสนง่าย เพราะโปรแกรมสำเร็จรูปเหล่านี้มีคำสั่งที่คุณสามารถ คลิกแล้วทำการลากออกมาเป็น กล่องสี่เหลี่ยมตามขนาดต่างๆที่คุณต้องการได้โดยอัตโ นมัติ โดยคุณสามารถใส่ค่าของความยาว ความสูงได้โดยอัตโนมัติ หรือแค่ลากเมาส์หนักๆ เพื่อสร้างกล่องความสูง 1,000 เมตร หรือสะกิดเมาส์เบาๆเพื่อสร้างกล่องที่ความสูง 1 มิลลิเมตรอย่าไปหลงเชื่อในสิ่งที่คุณเห็นนะครับ ไอ้กล่องสี่เหลี่ยม ที่โปรแกรมเหล่านั้นสร้างขึ้นมามันผ่านกระบวนการต่าง ๆมามากมาย เมื่อวินาทีแรกที่คุณบรรจงกดนิ้วของคุณลงไปที่เมาส์น ั้น โปรแกรมจะทำการคำนวนที่ซับซ้อนต่างๆขึ้นมาทันที เพื่อสร้างออกมาเป็นกล่องสี่เหลี่ยมที่คุณต้องการ แต่คุณหารู้ไม่ว่าในโปรแกรมนั้นๆได้สร้างสิ่งที่เรีย กว่า Code ทางคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแล้ว ซึ่ง Code นี้จะอยู่ในรูปแบบของภาษาของคอมพิวเตอร์ และถูกเขียนออกมาเป็นบรรทัดๆ และเรียงลำดับในการทำงานเป็นขั้นเป็นตอน เหมือนสูตรอาหาร ซึ่งมันจะบอกโปรแกรมว่า ถ้าจะสร้างกล่องสี่เหลี่ยมที่ตำแหน่งใดๆก็ตามจะต้องใช้ส่วนประกอบอะไรบ้าง ต้องมีตำแหน่งของ Coordinate Systems ที่แกน X, Y, Z ที่เท่าไรบ้าง Origin Plane อยู่ที่ตำแหน่งไหน ต้องใช้จุดเริ่มที่มุมกล่องกี่จุด ใช้เส้นที่สร้างขึ้นมาเป็นกรอบของกล่องสี่เหลี่ยมเชือมจุดขึ้นมากี่เส้น แล้วเส้นที่ใช้เป็นเส้นในลักษณะไหน? และ ต้องมี Surface กี่ชิ้นแต่ละชิ้นมี Properties แบบใดบ้าง เป็น Planar Surface หรือเปล่า? หรือเป็น Double Curvature Surface กันแน่สิ่งที่น่าปวดหัวเหล่านี้ถูกซ่อนเอาไว้อย่างมิดชิดจากผู้ใช้

เราเลยสร้างกล่องสี่เหลี่ยมขึ้นมาโดยที่ไม่ได้สำเหนียกเลยว่า เบื้องหลังของการทำงานนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้างหลังเวทีท ี่ฉาบฉวยเหล่านั้น ในกรณีเดียวกันกับการสร้าง กล่องสี่เหลี่ยมธรรมดาๆใน Parametric Modeling คุณจะไม่มีโอกาสได้ลากเมาส์กดปุ่มสองสามทีหรอกครับ แต่คุณต้องเป็นผู้กำหนดเอาเองทุกอย่าง โดยสร้างเป็นโมเดลในลักษณะของระบบความสัมพันธ์ขึ้นมา โดยจับเอาส่วนประกอบของรูปทรงต่างๆมาสร้างขึ้นเป็นกล ่องสี่เหลี่ยมในฝันของคุณ อาจจะกล่าวง่ายๆว่า โปรแกรมในแบบของ Parametric Modeling นั้นเป็นการ "สาวไส้" โปรแกรมสามมิติสำเร็จรูปออกมาวางแผ่กลางลานสนามหลวง ซึ่งมันจะประกอบไปด้วยคำศัพท์ทาง รูปทรงเรขาคณิตประหลาดๆ ที่คุณ (และผมเอง) เคยเรียนแล้วตอน ม. สอง ม. สาม และโยนทิ้งไปหมดแล้ว กระจัดกระจายอยู่เต็มลานไปหมด ซึ่งไอ้พวกคำศัพท์ หรือส่วนประกอบทางคณิตาสตร์เหล่านั้นนะละครับ เปรียบเสมือนส่วนประกอบสำคัญที่คุณจะต้องจับเอามาหยิ บเล็กผสมน้อยเพื่อสร้างออกมาเป็นรูปทรงในฝันของคุณเอ ง ดังนั้นในกรณีเดียวกัน ที่คุณจะสร้างกล่องสี่เหลี่ยมในระบบ Parametric Modeling คุณจะต้องกำหนดตั้งแต่ จุด ไปถึง เส้น ไปถึง ระบบ Coordinate และ ลักษณะของ Surface ที่ประกอบขึ้นมาเป็นกล่อง 4 เหลี่ยมทั้ง 4 ด้านเลยละครับ


Why bother? หรือ ทำไมต้องเหนื่อยด้วย?

เหตุผลสำคัญที่สุดที่ผู้คนหันมาใช้ Parametric Modeling คงไม่ใช่ความรู้สึกซาดิสต์จากการที่ได้พิมพ์โค๊ดภาษา คอมพิวเตอร์จำนวน 5,000 บรรทัด เพื่อกล่องสี่เหลี่ยมกล่องเดียวหรอกนะครับ แต่ที่ผู้คนยอมออกแรงนิดนึงทั้งนี้ก็เพื่อการสร้าง "ความยืดหยุ่น" ในตัวของโมเดลต่างหากละครับความยืดหยุ่นที่ผมกำลังพูดถึงนี้สำคัญมากนะครับ ยกตัวอย่างง่ายที่สุดนะครับ ในกรณีที่ ผู้รับเหมาของคุณเดินมาบอกว่า อาคารที่คุณออกแบบมันเสูงเกิน พรบ. ควบคุมอาคาร ที่ชาวบ้านเค้าใช้กันอยู่ ทีนี้มันทำให้คุณต้องลดความสูงของแบบลง 2.786 เมตร ทีนี้พอขนาดโดยรวมเปลี่ยน ความสูงของอาคารคุณก็เปลี่ยน ขนาดหน้าต่างก็เปลี่ยน ขนาดประตูก็เปลี่ยน อาจจะต้องเดินระบบท่อน้ำใหม่ หรือ คุณอาจจะต้องส่งจดหมายไปขอร้องวิศวกรที่ไม่ค่อยยอมรั บโทรศัพท์คุณให้เปลี่ยนแบบเหล็กเสริมคานให้เพื่อรับก ับขนาดของหลังคาที่เตี๊ยลง คือคุณต้องลบแบบเก่าทิ้งแล้วทำแบบใหม่นั่นละครับแต่ในกรณีของ Parametric Modeling สิ่งเหล่านี้

(ผมหมายถึง ขนาดประตู, หน้าต่าง, ตำแหน่งความสูง ความยาวคาน เหล็กเสริม, ตำแหน่ง และความยาวท่อ) จะถูกวางเชื่อมกันเอาไว้ทั้งหมด ถ้าคุณเปลี่ยนความสูงของอาคาร สิ่งเหล่าจะถูกปรับเปลี่ยนขนาดความยาว ความสูง และจำนวน ไปตาม Scale หรือสัดส่วนที่คุณตั้งเอาไว้โดยอัตโนมัติ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องไปลบแบบเก่าทิ้งแล้วเขียนแบบใ หม่ให้เสียเวลา

ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือน Representation Modeling เป็นตอไม้ แข็งๆ ทื่อๆ กับ Parametric Modeling เป็นก้อนยางที่สามารถยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะแวดล้อมภายนอกที่ถูกกำหนดต่างๆ นั่นละครับทีนี้ก็ตาคุณเลือกแล้วละครับ ว่าจะเขียนแบบอาคารรอบเดียวจบ แล้วไป Hang Out ที่ DEMO หรืออยากนั่งอยู่หน้าคอมไปตลอดชีวิต "


ขอบคุณมากครับ พี่ Pattosan สำหรับความรู้ดีๆ มากๆ


งานเก่า..เล่าใหม่



เเนวคิดที่ว่า " ความสวยงามที่ ไร้อิสรภาพ "
เป็นสร้อยพันธนาการนก ที่ทำร่วมกับ อ.ทิม ( อ.ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์ ขอโทษครับเพิ่งจะได้ใส่ชื่อจริง )
เหมือนสร้อยที่ประดับด้วยนกธรรมดา เเต่ถ้าได้มองใกล้ๆ จะเห็นว่านกเเต่ละตัว ถูกจองจำด้วยอริยาบท
ที่โหดร้าย
เป็นงานสไตล์อาจารย์ทิมอย่างชัดเจน

บางกอก... กล้วย ...กล้วย



เป็นงาน workshop จากโครงการ "บางกอก กล้วย กล้วย "
คนออกเเบบชื่อน้องเอม ครับ ( จำชื่อจริงไม่ได้ )
Create+rendering โดยเราเอง

งาน ADs มันส์ๆ จากลีโอ


งานนี้ไม่ได้ขึ้นรูปเอง เเต่เป็นงานรับมา rendering ให้ + บรรยากาศคราวๆ
อันนี้ไม่ใช่งานจริง เป็น สเกต mood ให้ดูก่อน